วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

    การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนี้ แบ่งออกได้เป็น ๓ กลุ่ม คือ
๑.กลุ่มที่เลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์แบบมียี่ห้อ หรือเรียกว่าเครื่องแบรนด์เนม(brand name) ทั้งแบรนด์เนมของไทยและของต่างประเทศ เช่น Laser , Powell , IBM , Acer , Atec เป็นต้น
๒.กลุ่มที่เลือกซื้อเครื่องสั่งประกอบตามร้านคอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ในศูนย์การค้า เช่น ที่พันธ์ทิพย์พลาซ่า เสรีเซ็นเตอร์ หรือจากร้านจำหน่ายคอมพิวเตอร์ทั่วไป เป็นต้น
๓.กลุ่มที่เลือกซื้ออุปกรณ์มาเป็นชิ้นๆ แล้วนำมาประกอบเองที่บ้าน
การเลือกซื้อในแต่ละกลุ่มมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป ดังนี้
ชนิดของการเลือกซื้อ
ข้อดี
ข้อเสีย
เครื่องมียี่ห้อ
1. มีคุณภาพได้มาตรฐาน
2.การบริการ/ดี
3.มีการรับประกันดี
4.ในบางที่จะมีการฝึกอบรมการใช้โปรแกรมสำหรับผู้ซื้อเครื่องด้วย
1.เครื่องมีราคาสูง
2.ไม่สามารถเลือกคุณลักษณะและยี่ห้อของอุปกรณ์ที่ต้องการได้
3.เวลาสั่งซื้อเครื่อง อาจต้องรอเครื่องเป็นเวลานานหลายวัน
เครื่องสั่งประกอบ
1.เลือกซื้ออุปกรณ์หรือปรับเปลี่ยนได้ตามต้องการ
2.มีคุณลักษณะและยี่ห้อตามต้องการ
3.ราคาถูก(ขึ้นอยู่กับทางร้าน)
4.การรับประกัน(ขึ้นอยู่กับทางร้าน)
1.ถ้ามีความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ไม่ดีพอ อาจจะได้ของที่ไม่มีคุณภาพ
2.เวลาเครื่องเสีย หรือมีปัญหาต้องยกเครื่องไปให้ช่างที่ร้านซ่อม
3.อาจได้สินค้าของปลอม
เครื่องประกอบเอง
1.เลือกซื้ออุปกรณ์หรือปรับเปลี่ยนได้ตามต้องการ
2.คุณลักษณะและยี่ห้อตามต้องการ
3.ไม่เสียค่าประกอบ
4.ราคาถูก(ขึ้นอยู่กับทางร้าน)
5.การรับประกัน(ขึ้นอยู่กับทางร้าน)
6.การบริการ(ขึ้นอยู่กับทางร้าน)
1.ผู้ใช้ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ทางด้านฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์เป็นอย่างดี เพราะต้องประกอบเครื่องและลงโปรแกรมเอง
2.ถ้ามีความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ไม่ดีพออาจจะได้ของที่ไม่มีคุณภาพ
3.เวลาเครื่องเสียหรือมีปัญหา ต้องยกเครื่องไปให้ช่างที่ร้านซ่อม
4.อาจได้สินค้าปลอม
การเลือกคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์นั้น ผู้ใช้ควรวางแผนและหาข้อมูลในการเลือกซื้อไว้ก่อนล่วงหน้า ไม่ว่าจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะประกอบเอง หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มียี่ห้อต่างๆ และควรพิจารณาถึงความต้องการที่จะนำไปใช้งานเป็นหลัก เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานนั้นสามารถเอื้ออำนวยในการทำงานของผู้ใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งการเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น ผู้ใช้งานเท่านั้นที่จะสามารถกำหนดขอบข่ายและคุณลักษณะของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เหมาะสมที่สุด

ความซื่อสัตย์

ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นส่วนหนึ่งของความจริงใจ การที่เราจะมีความซื่อสัตย์ต่อผู้อื่น เราต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองเสียก่อน แท้จริงแล้วเราไม่จำเป็นต้องมีความซื่อสัตย์หรอก แต่ให้เป็นคนมีความจริงใจก็สามารถมีความซื่อสัตย์ได้แล้ว เพราะเมื่อเรามีความจริงใจผลพลอยได้คือความซื่อสัตย์ การที่เรามีความซื่อสัตย์ต่อผ๔อื่นไม่ได้ ก็เพราะขาดความซื่อสัตย์ต่อตนเอง

ธรรมะว่าด้วยความซื่อสัตย์ก็มีลักษณะเหมือนธรรมะข้ออื่น คือต้องทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นโดยเริ่มต้นที่ตนเองก่อน คนถ้าไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเองแล้ว โดยมักคิดว่าถ้าตนเองทำอะไรผิดแล้วปกปิดไว้มิให้คนอื่นล่วงรู้ในสิ่งที่ตนทำ โดยมักจะคิดว่าถ้าไม่บอกว่าเราทำอะไรผิดบ้างคนอื่นก็จะไม่รู้ นี่คือความไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเอง การทำให้ตนมีความซื่อสัตย์อย่างแท้จริงนั้นเป็นเรื่องยาก คนที่จะมีความซื่อสัตย์ได้นั้นต้องมีความจริงใจต่อตนเอง ถ้าจะให้ดีคือต้องกล้าประจานความชั่วที่ตนมีต่อหน้าผู้อื่น คนฟังยิ่งมากยิ่งดี ถ้าเราทำได้รับรองว่าเราจะมีความซื่อสัตย์แน่นอน แต่ถ้าทำไม่ได้ผู้เขียนก็ไม่รู้ว่าจะเอาความซื่อสัตย์ต่อตนเองมาจากไหน เมื่อเราไม่มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองก็ไม่สามารถซื่อสัตย์ต่อผู้อื่นและส่วนรวมได้เลย

การจะเรียกร้องสิ่งใดจากผู้ใดจึงไม่ต้องไปเรียกร้องจากผู้อื่น แต่ให้เริ่มต้นที่ตนเองทั้งสิ้น หากอยากให้สังคมสงบแต่ละคนต้องทำวิปัสนากรรมฐาน หากเราไปเรียกร้องจากคนอื่นให้คนอื่นเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ย่อมไม่อาจทำได้ ทุกคนต้องเรียกร้องเอาจากตนเองโดยถามว่าตนเองทำได้หรือยัง การเรียกร้องสิ่งใดจากผู้อื่นคือการพึ่งคนอื่นอย่างกลาย ๆ นี่เอง การที่เราไปเรียกร้องให้คนอื่นทำนั่นหมายความว่าตนเองต้องทำให้ได้ตามนั้นเสียก่อน เมื่อเราทำได้แล้วจึงมีความชอบธรรมในการเรียกร้องให้ผู้อื่นทำตามที่เราอยากให้ทำได้

การจะทำให้สังคมดีคือการทำให้แต่ละคนเป็นคนดี ความรับผิดชอบต่อสังคมโดยส่วนรวมจึงต้องขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบในแต่ละคน หากวันนี้เราจะไปเรียกร้องให้ผู้อื่นมีความซื่อสัตย์ต้องย้อนถามตนเองว่าตนเองมีความซื่อสัตย์แล้วหรือยัง ด้วยเหตุนี้เราอยากได้สิ่งใดจึงต้องแสดงและทำสิ่งนั้นให้ผู้อื่นมองเห็นด้วยความบริสุทธิ์ใจไร้เจตนาแอบแฝงเสียก่อน หากเราไปเรียกร้องให้ผู้อื่นทำกับเราก่อนยังเรียกร้องไม่ได้ แล้วจะไปเรียกร้องอะไรจากสังคมและส่วนรวมให้ต้องมีความซื่อสัตย์ รู้จักทำหน้าที่ ฯลฯ นั่นเอง